สะพานทาวเวอร์บริดจ์
สะพานทาวเวอร์บริดจ์ (Tower
Bridge)
ตั้งอยู่ข้างหอคอยลอนดอนสร้างขึ้นระหว่างปี ค . ศ. 1886 - 1894 ใช้เวลาสร้าง 8 ปี เพื่อการสัญจรข้ามแม่น้ำเทมส์ ออกแบบสไตล์วิกตอเรียนโกธิก เป็นสะพานแบบเปิดปิดได้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อเสียงมากที่สุดของประเทศอังกฤษโดยนักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นไปชม ความงามของเมืองลอนดอนได้ที่ระดับ 140 ฟุต มีถนน 18 สายที่ข้ามสะพานนี้
สร้าง ขึ้นเหนือแม่น้ำเทมส์ โดยสะพานแห่งนี้ ไม่เพียงแต่เป็นจุดชมวิว ที่มีความสูงถึง 140 ฟุต เท่านั้น แต่ภายในของฐานสะพานที่ถูกสร้างขึ้นให้มีลักษณะเป็นหอสูง ยังเป็นที่ที่จัดนิทรรศการ เกี่ยวกับประเทศอังกฤษ จนถึงมีจัดแสดงห้องอบไอน้ำสมัยวิกตอเรียนด้วย
การเปิดสะพานในแต่ละครั้งจะส่งผลทำให้คนที่ต้องการเดินข้ามสะพานในขณะที่ สะพานชักขึ้นต้องเดินขึ้นบันไดเพื่อไปยังหอคอยด้านบน โดยมีบันไดถึง 300 ขั้นเพื่อไปข้างบน โดยปัจจุบันมีทัวร์เดินชมสะพานนี้โดยใช้เวลาในการเดินชมประมาณ 90 นาที รวมถึงเวลาในการชมวิวทิวทัศน์บนทางเท้าที่สูงถึง 40 เมตร โดยทางเข้าเพื่อขึ้นบันไดจะอยู่ทางใต้ของท่าเรือทางเหนือ
ตั้งอยู่ข้างหอคอยลอนดอนสร้างขึ้นระหว่างปี ค . ศ. 1886 - 1894 ใช้เวลาสร้าง 8 ปี เพื่อการสัญจรข้ามแม่น้ำเทมส์ ออกแบบสไตล์วิกตอเรียนโกธิก เป็นสะพานแบบเปิดปิดได้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อเสียงมากที่สุดของประเทศอังกฤษโดยนักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นไปชม ความงามของเมืองลอนดอนได้ที่ระดับ 140 ฟุต มีถนน 18 สายที่ข้ามสะพานนี้
สร้าง ขึ้นเหนือแม่น้ำเทมส์ โดยสะพานแห่งนี้ ไม่เพียงแต่เป็นจุดชมวิว ที่มีความสูงถึง 140 ฟุต เท่านั้น แต่ภายในของฐานสะพานที่ถูกสร้างขึ้นให้มีลักษณะเป็นหอสูง ยังเป็นที่ที่จัดนิทรรศการ เกี่ยวกับประเทศอังกฤษ จนถึงมีจัดแสดงห้องอบไอน้ำสมัยวิกตอเรียนด้วย
การเปิดสะพานในแต่ละครั้งจะส่งผลทำให้คนที่ต้องการเดินข้ามสะพานในขณะที่ สะพานชักขึ้นต้องเดินขึ้นบันไดเพื่อไปยังหอคอยด้านบน โดยมีบันไดถึง 300 ขั้นเพื่อไปข้างบน โดยปัจจุบันมีทัวร์เดินชมสะพานนี้โดยใช้เวลาในการเดินชมประมาณ 90 นาที รวมถึงเวลาในการชมวิวทิวทัศน์บนทางเท้าที่สูงถึง 40 เมตร โดยทางเข้าเพื่อขึ้นบันไดจะอยู่ทางใต้ของท่าเรือทางเหนือ
ไชน่า ทาวน์ ลอนดอน
เป็น อีกสถานที่หนึ่งที่
คนไทยในลอนดอนชอบไปเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่า อาหารจีนเป็นอาหารที่คนไทยชื่นชอบเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมากกว่า อาหารฝรั่ง เบอร์เกอร์ แซนวิชเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้ง
ยังมี ซุปเปอร์มาเก็ตของคนจีน ที่นำเข้า ของชำ ทั้ง ผัก ผลไม้ ม่าม่า และ
ซอสปรุงอาหาร แม้กระทั่ง ปลาร้า ก็มี ที่นำเข้ามาจากเมืองไทยทุกวันสดมาก เป็นที่ ๆ
นักเรียนไทยในลอนดอนรู้จักกันดี
ประวัติความเป็นมา
ไชน่าทาวน์
ณ มหานครลอนดอน ประเทศอังกฤษ หรือที่หลายคนเรียกว่า “โซโห”
(Soho) ตามชื่อของย่านที่เป็นถิ่นที่ตั้งของชุมชนคนจีนแห่งนี้นั้น
แต่เดิมไม่ได้อยู่ในย่านโซโหเหมือนเช่นทุกวันนี้ แต่อยู่ในเขตไลม์เฮ้าส์ (Limehouse)
โดยช่วงศตวรรษที่ 20 คนจีนในลอนดอนยังมีน้อยอยู่
จึงรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มย่อยๆ โดยส่วนหนึ่งก็เริ่มทำธุรกิจเล็กๆ
เปิดร้านรวงเพื่อขายของให้กับชาวประมงจีนด้วยกันที่ล่องแม่น้ำเข้ามาค้าขาย ณ
แดนผู้ดี สมัยนั้นไชน่าทาวน์ไม่ได้เป็นที่รู้จักในทางบวกมากนัก
เมื่อคนอังกฤษพูดถึงชุมชนคนจีนต่างพากันนึกถึง ฝิ่น บ่อน และชุมชนแออัด
ไม่เหมือนสมัยนี้ ที่ไชน่าทาวน์ในการรับรู้ของคนทั่วไป หมายถึงร้านอาหารจีน
เป็ดย่าง บะหมี่ ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านขายของสวยๆงามๆ
สภาพเสื่อมโทรมของไชน่าทาวน์ย่านไลม์เฮ้าส์ ดำรงอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
ก่อนที่จะถูกทำลายจากระเบิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่คนจีนส่วนหนึ่งก็ยังอดทนอยู่ต่อไปเนื่องจากไม่รู้จะไปหาที่ซุกหัวนอนที่ไหนอย่างไรก็ตาม
หลังสิ้นสุดสงคราม
ซึ่งอังกฤษเป็นผู้ชนะในฐานะแนวร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรคนจีนเริ่มไหลทะลักเข้ามาในลอนดอนมากขึ้น
โดยเฉพาะคนจีนจากฮ่องกง ซึ่งไหลบ่าเข้ามากันเป็นจำนวนมาก
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ไชน่าทาวน์ลอนดอน
ได้กลายเป็นถิ่นที่อยู่ของคนจีนกวางตุ้งไปโดยปริยาย
(คนจีนในฮ่องกงเป็นจีนกวางตุ้งเกือบทั้งนั้น)
จากไชน่าทาวน์เดิมในย่านไลม์เฮ้าส์
ด้วยปริมาณคนจีนในลอนดอนที่มากขึ้น
จึงเริ่มขยายวงเกิดเป็นชุมชนและร้านอาหารจีนกระจายตัวออกไปในที่ต่างๆ
ก่อนที่ในทศวรรษ 1970 จะพากันย้ายถิ่นฐานมาสร้างเป็นไชน่าทาวน์ใหม่
ณ ย่านแชฟท์บิวรี่ (Shaftesbury Avenue) ในปัจจุบัน
โดยตั้งชุมชนเรียงรายอยู่สองฟากฝั่งของถนนเจอร์ราร์ด (Gerrard Street) ทำให้พื้นที่โซโห ซึ่งเป็นบริเวณที่คนไม่ได้พลุกพล่านมากนักในวันเก่าก่อน
กลายเป็นศูนย์กลางของกรุงลอนดอน และเป็นชุมชนของคนเอเชียผิวเหลือง
ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกจนถึงทุกวันนี้
ในปี 2005
ที่ผ่านมา โรสวีล บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้เสนอแผนที่จะเข้ารื้อปรับโครงสร้างของไชน่าทาวน์ฝั่งตะวันออก
แต่แผนการนี้ถูกต่อต้านจากบรรดาคนจีนและเจ้าของร้านค้าปลีกจำนวนมาก
เนื่องจากกลัวว่าร้านรวงต่างๆ
จะถูกไล่ที่รื้อทิ้งพร้อมกับเสน่ห์และเอกลักษณ์ดั้งเดิมของไชน่าทาวน์ที่จะต้องหายไปนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น